หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม
หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด
สกว.- ทีมวิจัยม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือโดยการสนับสนุนของ สกว. ส่งมอบชุดอุปกรณ์-เครื่องมือเก็บกู้ทำลายระเบิดแสวงเครื่องของหุ่นต์อีโอดี ให้เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก หลังใช้เวลา 3 ปีออกแบบและพัฒนาให้ตรงโจทย์ของผู้ใช้ หวังลดการนำเข้าหุ่นยนต์ราคาแพงจากต่างประเทศ
ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวปิดโครงการและส่งมอบผลงานการวิจัยพัฒนาชุดอุปกรณ์-เครื่องมือเก็บกู้ทำลายระเบิดแสวงเครื่องของหุ่นยนต์อีโอดี แด่ พล.ต.วิชัย โพนุสิต รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก เป็นผู้รับมอบ ณ ห้องสโมสรสรรพการ กองบัญชาการกรมสรรพาวุธทหารบก โดยมี ศ. ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมเป็นสักขีพยาน
ผศ. ดร.ปูมยศ วัลลิกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. ในฐานะหัวหน้าโครงการ กล่าวว่า การใช้หุ่นยนต์อีโอดีในภารกิจการกู้ทำลายล้างระเบิดแทนการใช้คนเข้าทำภารกิจของทหารนับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและเพิ่มสัดส่วนความสำเร็จในการเก็บกู้-ทำลาย และเป็นการเอาชนะการก่อการร้ายด้วยเทคโนโลยีด้านการป้องกันกำลังรบ
ทั้งนี้ การเก็บกู้วัตถุระเบิดในหน่วยอีโอดีจะใช้ 2 วิธี คือ เจ้าหน้าที่เข้าไปวางปืนยิงกระสุนน้ำเพื่อยิงปลดชนวนระเบิดแสวงเครื่อง อันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของเจ้าหน้าที่ ส่วนอีกวิธีคือการใช้หุ่นยนต์เก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด หรือหุ่นยนต์อีโอดีเข้าไปปลด ซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงเมื่อเทียบกับการใช้คนเข้าไปทำภารกิจ
อย่างไรก็ตามหุ่นยนต์ดังกล่าวต้องจัดซื้อจากต่างประเทศโดยมีราคาแพงมากถึง 12 ล้านบาท และมักนำเสนอความเป็นอเนกประสงค์ ไม่อนุญาตให้มีการซ่อมแซมหรือการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีตามความต้องการของผู้ใช้ได้ อีกทั้งสัดส่วนของผู้ใช้ที่เข้าถึงเทคโนโลยีมีน้อย ขาดการฝึกทักษะและไม่มั่นใจในเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังอาจตกเป็นเป้าของผู้ก่อการร้ายที่มุ่งหวังทำลายทรัพย์สินของทางรัฐได้
“ด้วยเหตุนี้หน่วยอีโอดีจึงมีแนวคิดในการติดตั้งปืนยิงกระสุนน้ำดังกล่าวบนตัวหุ่นยนต์ เพื่อจะได้ไม่เกิดการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน จึงได้ติดต่อมาทาง มจพ. ซึ่งมีความชำนาญด้านหุ่นยนต์กู้ภัยให้ทำการพัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถติดตั้งปืนยิงกระสุนน้ำเพื่อใช้ปลดชนวนระเบิด โดยมุ่งให้ระบบหุ่นยนต์แยกเป็น 3 ตัว เพื่อให้สร้างได้ง่าย และไม่เสี่ยงต่อการโดนทำลายเสียหายทั้งระบบ จึงกลายมาเป็นโครงการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดร่วมกัน” ผศ. ดร.ปูมยศระบุ
โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 4,367,800 บาท จากฝ่ายอุตสาหกรรม สกว. ในการดำเนินงานวิจัยเป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งสามารถพัฒนาเทคโนโลยีตามโจทย์ที่ได้จากผู้ใช้ และผู้ใช้ก็สามารถกำหนดลักษณะเครื่องมืออุปกรณ์ที่เหมาะสมตรงตามภารกิจ ตลอดจนสามารถกำหนดกรอบในการดำเนินการปรับปรุงเทคโนโลยีหรือซ่อมแซมได้เองในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้หุ่นยนต์จากต่างประเทศ
คณะวิจัยได้ร่วมกันออกแบบและสร้างอุปกรณ์เครื่องมือเก็บกู้ทำลายระเบิดแสวงเครื่อง จนพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบ 3 ระบบ คือ หุ่นยนต์ทำลายวัตถุระเบิด หุ่นยนต์สำรวจวัตถุระเบิด และหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดที่ทำงานแยกกันตามภารกิจ ได้แก่
1.แขนกลพร้อมอุปกรณ์คีบจับวัตถุต้องสงสัยติดตั้งบนหุ่นยนต์ขับเคลื่อนด้วยล้อสายพาน สำหรับทำภารกิจเก็บกู้เคลื่อนย้าย
2.แขนกลและระบบการยิงปืนน้ำแรงดันสูงติดตั้งบนหุ่นยนต์ขับเคลื่อนด้วยล้อสายพาน สำหรับทำภารกิจทำลายยิงทำลายวงจรจุดระเบิดของระเบิดแสวงเครื่อง
3.อุปกรณ์กล้องความละเอียดสูงติดตั้งบนหุ่นยนต์ที่มีความคล่องตัวสูง สำหรับทำภารกิจสำรวจ บันทึกภาพสถานการณ์ต่างๆ
ด้านผู้อำนวยการ สกว. เผยถึงผลงานดังกล่าวว่าเป็นงานวิจัยและพัฒนาที่สำคัญที่ใช้องค์ความรู้เชิงวิศวกรรมและเทคโนโลยีในการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อให้ชิ้นงานที่สร้างขึ้นเป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และเป็นการเพิ่มศักยภาพในการออกแบบสร้างเทคโนโลยีการป้องกันประเทศขึ้นใช้เองภายในประเทศ
“จะเห็นได้จากผลงานบางชิ้นที่ใช้บนหุ่นยนต์ของโครงการนี้มีประสิทธิภาพสูงเป็นที่น่าพอใจ จนนำไปสู่การจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์และการออกแบบนวัตกรรมใหม่ในชื่อของ “หัวปืนลดแรงกระแทกถอยหลัง” ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของการนำผลวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์และสร้างความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศ อีกทั้งงานวิจัยนี้ยังมีความสอดคล้องกับนโยบายของ สกว. ในการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ” ศ. นพ.สุทธิพันธ์กล่าว
ผอ.สกว.คาดว่า หากผลงานวิจัยถูกนำไปใช้ปฏิบัติงานจริงจะสามารถเพิ่มสัดส่วนความสำเร็จในการเก็บกู้ทำลายล้างระเบิดแสวงเครื่อง นอกจากนี้ยังช่วยลดความสูญเสียในทรัพย์สินของประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบาดเจ็บและการเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่จากภัยด้านการก่อการร้ายได้
ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวปิดโครงการและส่งมอบผลงานการวิจัยพัฒนาชุดอุปกรณ์-เครื่องมือเก็บกู้ทำลายระเบิดแสวงเครื่องของหุ่นยนต์อีโอดี แด่ พล.ต.วิชัย โพนุสิต รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก เป็นผู้รับมอบ ณ ห้องสโมสรสรรพการ กองบัญชาการกรมสรรพาวุธทหารบก โดยมี ศ. ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมเป็นสักขีพยาน
ผศ. ดร.ปูมยศ วัลลิกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. ในฐานะหัวหน้าโครงการ กล่าวว่า การใช้หุ่นยนต์อีโอดีในภารกิจการกู้ทำลายล้างระเบิดแทนการใช้คนเข้าทำภารกิจของทหารนับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและเพิ่มสัดส่วนความสำเร็จในการเก็บกู้-ทำลาย และเป็นการเอาชนะการก่อการร้ายด้วยเทคโนโลยีด้านการป้องกันกำลังรบ
ทั้งนี้ การเก็บกู้วัตถุระเบิดในหน่วยอีโอดีจะใช้ 2 วิธี คือ เจ้าหน้าที่เข้าไปวางปืนยิงกระสุนน้ำเพื่อยิงปลดชนวนระเบิดแสวงเครื่อง อันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของเจ้าหน้าที่ ส่วนอีกวิธีคือการใช้หุ่นยนต์เก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด หรือหุ่นยนต์อีโอดีเข้าไปปลด ซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงเมื่อเทียบกับการใช้คนเข้าไปทำภารกิจ
อย่างไรก็ตามหุ่นยนต์ดังกล่าวต้องจัดซื้อจากต่างประเทศโดยมีราคาแพงมากถึง 12 ล้านบาท และมักนำเสนอความเป็นอเนกประสงค์ ไม่อนุญาตให้มีการซ่อมแซมหรือการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีตามความต้องการของผู้ใช้ได้ อีกทั้งสัดส่วนของผู้ใช้ที่เข้าถึงเทคโนโลยีมีน้อย ขาดการฝึกทักษะและไม่มั่นใจในเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังอาจตกเป็นเป้าของผู้ก่อการร้ายที่มุ่งหวังทำลายทรัพย์สินของทางรัฐได้
“ด้วยเหตุนี้หน่วยอีโอดีจึงมีแนวคิดในการติดตั้งปืนยิงกระสุนน้ำดังกล่าวบนตัวหุ่นยนต์ เพื่อจะได้ไม่เกิดการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน จึงได้ติดต่อมาทาง มจพ. ซึ่งมีความชำนาญด้านหุ่นยนต์กู้ภัยให้ทำการพัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถติดตั้งปืนยิงกระสุนน้ำเพื่อใช้ปลดชนวนระเบิด โดยมุ่งให้ระบบหุ่นยนต์แยกเป็น 3 ตัว เพื่อให้สร้างได้ง่าย และไม่เสี่ยงต่อการโดนทำลายเสียหายทั้งระบบ จึงกลายมาเป็นโครงการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดร่วมกัน” ผศ. ดร.ปูมยศระบุ
โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 4,367,800 บาท จากฝ่ายอุตสาหกรรม สกว. ในการดำเนินงานวิจัยเป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งสามารถพัฒนาเทคโนโลยีตามโจทย์ที่ได้จากผู้ใช้ และผู้ใช้ก็สามารถกำหนดลักษณะเครื่องมืออุปกรณ์ที่เหมาะสมตรงตามภารกิจ ตลอดจนสามารถกำหนดกรอบในการดำเนินการปรับปรุงเทคโนโลยีหรือซ่อมแซมได้เองในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้นเมื่อเทียบกับการใช้หุ่นยนต์จากต่างประเทศ
คณะวิจัยได้ร่วมกันออกแบบและสร้างอุปกรณ์เครื่องมือเก็บกู้ทำลายระเบิดแสวงเครื่อง จนพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบ 3 ระบบ คือ หุ่นยนต์ทำลายวัตถุระเบิด หุ่นยนต์สำรวจวัตถุระเบิด และหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดที่ทำงานแยกกันตามภารกิจ ได้แก่
1.แขนกลพร้อมอุปกรณ์คีบจับวัตถุต้องสงสัยติดตั้งบนหุ่นยนต์ขับเคลื่อนด้วยล้อสายพาน สำหรับทำภารกิจเก็บกู้เคลื่อนย้าย
2.แขนกลและระบบการยิงปืนน้ำแรงดันสูงติดตั้งบนหุ่นยนต์ขับเคลื่อนด้วยล้อสายพาน สำหรับทำภารกิจทำลายยิงทำลายวงจรจุดระเบิดของระเบิดแสวงเครื่อง
3.อุปกรณ์กล้องความละเอียดสูงติดตั้งบนหุ่นยนต์ที่มีความคล่องตัวสูง สำหรับทำภารกิจสำรวจ บันทึกภาพสถานการณ์ต่างๆ
ด้านผู้อำนวยการ สกว. เผยถึงผลงานดังกล่าวว่าเป็นงานวิจัยและพัฒนาที่สำคัญที่ใช้องค์ความรู้เชิงวิศวกรรมและเทคโนโลยีในการออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อให้ชิ้นงานที่สร้างขึ้นเป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และเป็นการเพิ่มศักยภาพในการออกแบบสร้างเทคโนโลยีการป้องกันประเทศขึ้นใช้เองภายในประเทศ
“จะเห็นได้จากผลงานบางชิ้นที่ใช้บนหุ่นยนต์ของโครงการนี้มีประสิทธิภาพสูงเป็นที่น่าพอใจ จนนำไปสู่การจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์และการออกแบบนวัตกรรมใหม่ในชื่อของ “หัวปืนลดแรงกระแทกถอยหลัง” ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของการนำผลวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์และสร้างความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศ อีกทั้งงานวิจัยนี้ยังมีความสอดคล้องกับนโยบายของ สกว. ในการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ” ศ. นพ.สุทธิพันธ์กล่าว
ผอ.สกว.คาดว่า หากผลงานวิจัยถูกนำไปใช้ปฏิบัติงานจริงจะสามารถเพิ่มสัดส่วนความสำเร็จในการเก็บกู้ทำลายล้างระเบิดแสวงเครื่อง นอกจากนี้ยังช่วยลดความสูญเสียในทรัพย์สินของประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบาดเจ็บและการเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่จากภัยด้านการก่อการร้ายได้
หุ่นยนต์เรียนแบบมนุษย์
หลาย ๆ คนคงจะรู้จักหุ่นยนต์ อาซิโม (Ashimo) ที่แสนจะน่ารัก น่าทึ่งกันดีอยู่แล้วเพราะเป็น หุ่นยนต์ที่เลียนแบบมนุษย์ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกในปัจจุบัน และเป็นหุ่นยนต์ตัวแรกที่ครบเครื่องคล้ายมนุษย์มากที่สุด บางท่านอาจจะเคยเห็นในคลิปผ่านจอคอมพิวเตอร์ มือถือ เห็นในข่าวทีวี แต่หลาย ๆ คนคงจะไม่เคยเห็นอาซิโมตัวจริงกันมาก่อน ทีมงาน Japan50 ไม่รอช้า จึงขอแนะนำให้ทุกคนที่เที่ยวญี่ปุ่นด้วยตัวเองลองเดินทางไปไปพบหุ่นยนต์อาซิโมตัวจริงที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมแห่งชาติ โอไดบะ ด้วยตัวเองสักครั้งนึงครับ โดยเฉพาะเด็กๆ ก่อนอื่นเราลองทำมาทำความรู้จักกับหุ่นยนต์อาซิโมกันก่อนว่าทำไมหุ่นยนต์อาซิโมตัวนี้ถึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจในโตเกียวที่สามารถดึงดูดนักเที่ยวเที่ยวให้มาเที่ยวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น